21 พฤษภาคม 2552

หมวด ภ

สัญญาภารจำยอม

สัญญาฉบับนี้ทำขึ้นเมื่อวันที่……………………………………ณ………………………………….

………………………………………………………………………………………………………..ระหว่าง

(ก)…………………………………………………………ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่……….……..

ถนน………………………………เขต…………………………………จังหวัด…………………………….

โดย…………………………………………………….……...(ต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า “ผู้รับสัญญา”) กับ

(ข) …………………………………………………………………………………………………...

………………………………………………………………………………………………………………..

(ต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า “เจ้าของ”)

คู่สัญญาตกลงทำสัญญากันดังต่อไปนี้

1. ในสัญญานี้

(ก) “สามยทรัพย์” หมายถึง ที่ดินที่ปรากฏในโฉนดที่ดิน เลขที่……………..………………...

และที่ดินแปลงย่อยตามโฉนด ที่จะได้แบ่งแยกจากโฉนดเดิมดังกล่าวข้างต้น และหมายรวมถึงที่ดินที่ติดต่อ

หรือใกล้เคียงกับภารยทรัพย์ซึ่งเป็น (หรือจะได้เป็น) ถนน ทางเดิน ไหล่ถนน ที่ว่างเว้น หรือที่ดินอื่นที่

อนุญาตให้ใช้ร่วมกัน

(ข) “ภารยทรัพย์” หมายถึง ที่ดิน (และสิ่งปลูกสร้างที่ปลูกสร้างในที่ดินดังกล่าว หรือที่จะ

ปลูกสร้างในภายหน้า) ที่ปรากฏตราโฉนดเลขที่……………………………ดังระบุไว้ในสัญญาซื้อขายที่ดิน

ฉบับที่ทำขึ้นในวันเดียวกันนี้ ระหว่างคู่สัญญาเดียวกันนี้

2. เพื่อให้การพัฒนาที่ดินตามโครงการได้เป็นไปในทางที่เหมาะสมที่สุด และเพื่อให้เจ้าของที่ดิน

แปลงย่อยใช้ที่ดินของตนในทางที่ถูกต้อง มิใช่เพื่อประโยชน์อื่นใดอันอาจก่อให้มูลค่าของที่ดินข้างเคียงต้อง

ด้อยลง คู่สัญญาจึงตกลงกันว่า ภารยทรัพย์ต้องตกอยู่ในภารจำยอมดังจะระบุดังต่อไปนี้ และขอให้สำนัก

งานที่ดินจดทะเบียนภารจำยอมและทำการบันทึกลงในโฉนดด้วย

(ก) มิให้ใช้ภารยทรัพย์เพื่อการอื่น เว้นแต่ใช้เป็นโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้นและห้ามให้เป็นที่อยู่

อาศัยโดยเด็ดขาด ภายหลังที่การก่อสร้างโรงงานแล้วเสร็จ ห้ามก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง (ไม่ว่าถาวรหรือ

ชั่วคราว) ขึ้นใหม่บนภารยทรัพย์นั้น หรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคารที่มีอยู่โดยที่มิได้รับความยินยอม

เป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้รับสัญญา

(ข) การประกอบกิจการโรงงานต้องดำเนินการตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้น โดยพระราชบัญญัติ

โรงงาน พ.ศ. 2535 และระเบียบกฎหมายพร้อมทั้งข้อบังคับใด ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย และโดยเฉพาะน้ำทิ้งและ

สิ่งปฏิกูลอื่นใดที่เกิดขึ้นโรงงาน จะต้องได้มาตรฐานตามกฎหมายและโรงงานไม่อาจก่อให้เกิดเสียง ความ

สั่นสะเทือน กลิ่นไอระเหย ควัน ควันดำ ขี้เถ้า ฝุ่น หรือละอองฝุ่น ในระดับที่ผู้รับสัญญาพิจารณาแล้ว

เห็นว่าอาจรบกวนและอาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่อยู่อาศัยใกล้เคียง

(ค) โรงงานที่สร้างขึ้นบนภารยทรัพย์มีสิทธิได้รับบริการน้ำใช้ ท่อระบายน้ำ และที่ทิ้งขยะมูลฝอย

ที่จัดให้มีโดยผู้รับสัญญา และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการบริการอย่างอื่น หรือวิธีการอื่นในการระบายน้ำ

หรือทิ้งขยะ

(ง) ผู้รับสัญญา มีสิทธิที่จะเดินสายผ่านและฝังท่อลงในภารยทรัพย์ได้ตามที่ผู้รับสัญญาจะเห็น

สมควรเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่วางไว้ และเพื่อการนี้ให้ผู้รับสัญญามีสิทธินำคนงานเข้าไป

ในภารยทรัพย์เพื่อการเดินสายและฝั่งท่อในระหว่างเวลาที่ผู้รับสัญญาจะเห็นสมควร นอกจากนี้เมื่อเดิน

สายและฝั่งท่อแล้ว ผู้รับสัญญาหรือตัวแทนมีสิทธิ์เข้าไปในภารยทรัพย์เพื่อตรวจสอบสภาพและบำรุงรักษา

สายหรือท่อนั้น

(จ) มิให้นำภารยทรัพย์ไปแบ่งแยก แบ่ง แยก เพื่อขาย ขายต่อ ยกให้ โอน หรือจำหน่ายโดยการ

อื่นเว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้รับสัญญาก่อน

(ฉ) มิให้ติดป้าย แผงโฆษณา ข้อความในทางโฆษณาในภารยทรัพย์ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็น

หนังสือจากผู้รับสัญญาก่อน อย่างไรก็ตามผู้รับสัญญาไม่สามารถห้ามการติดตั้งป้ายโฆษณาชื่อและธุรกิจ

ของเจ้าของโรงงานอันเหมาะสมโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร

(ช) บรรดาสัตว์ทั้งหลายจะนำมาเลี้ยงไว้ในที่ภารยทรัพย์ไม่ได้เว้นแต่สัตว์ที่ต้องนำมาใช้เพื่อการวิจัย

3. ในกรณีที่มีการปฏิบัติผิดข้อตกลงเกี่ยวกับภารจำยอมส่วนใดส่วนหนึ่ง เมื่อได้รับการแจ้งเป็น

หนังสือจากผู้รับสัญญา เจ้าของภารยทรัพย์จะต้องละเว้นการปฏิบัติผิดข้อตกลงทันที ไม่ว่าจะโดยการละ

เว้นกระทำการที่เป็นการขัดต่อข้อตกลง รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ขัดต่อข้อตกลงออกไปทันทีและปรับให้

ภารยทรัพย์กลับคืนสู่สภาพเดิม หรือกระทำโดยประการอื่นเพื่อให้การปฏิบัติผิดสัญญาหมดสิ้นไป

4. สัญญานี้ทำเป็นสามฉบับ มีข้อตกลงตรงกัน เก็บรักษาไว้ที่สำนักงานที่ดิน 1 ฉบับ คู่สัญญา

เก็บไว้ฝ่ายละฉบับ(ฉบับนี้สำหรับ……………………………………………………………)

คู่สัญญาได้อ่านและเข้าใจโดยตลอดในข้อความแห่งสัญญาแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อและประทับตรา

(หากมี) ไว้ต่อหนาพยานและต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน

ลงชื่อ………………………………………………...ผู้รับสัญญา

ลงชื่อ………………………………………………...เจ้าของ

ลงชื่อ………………………………………………...พยาน

ลงชื่อ………………………………………………...พยาน

1 ความคิดเห็น: